การบริหารด้านงบประมาณ

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านงบประมาณ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และพร้อมใช้ ในการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต2

สารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านงบประมาณ

การบริหารงานด้านงบประมาณ หมายถึง กระบวนการวางแผนการใช้งบประมาณการบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุ การควบคุมการใช้งบประมาณ สรุปรายงานผล การบริหารงบประมาณและการตรวจสอบภายในอย่างเป็นระบบ มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศงานด้านงบประมาณรวมถึง การขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติโดยยึดหลักความถูกต้องตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ

รายงานผลการบริหารงาน
ด้านงบประมาณ
DOWNLOAD

1. การวางแผนการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับนโยบาย ปัญหา และความต้องการ

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ การวางแผนการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ จัดทำแผนปฏิบัติการที่สอดคล้องกับภารกิจ นโยบาย ปัญหา ความต้องการในการบริหารและการจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษา และมีการนำแผนปฏิบัติการไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ตามระยะเวลาที่กำหนด

2. การจัดระบบการบริหารการเงิน บัญชี และพัสดุ

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การจัดและใช้ระบบการบริหารด้านการเงิน บัญชี และพัสดุอย่างชัดเจน และ (2) การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง นำมาใช้ในการบริหารงาน ทำให้งานมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โปร่งใสตรวจสอบได้

3. การควบคุมการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การควบคุมการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบชัดเจนมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบริหารงบประมาณ (2) การตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณ การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ปฏิทินที่กำหนดไว้ในแผนงานโครงการ กิจกรรม และมีรายงานผลการเบิกจ่ายที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน จากระบบ GFMIS (3) การรายงานการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณทุกหมวดรายจ่ายเป็นปัจจุบัน และมีการเผยแพร่ผลการใช้งบประมาณ (4) ผลการเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และ (5) การนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน

4. การตรวจสอบภายในอย่างเป็นระบบ

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การประเมินความเสี่ยงด้านการเงิน การบัญชี และพัสดุของหน่วยรับตรวจ ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างเป็นระบบ (2) การจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี ครอบคลุมภารกิจความเสี่ยงของหน่วยรับตรวจ และครอบคลุมประเด็นการตรวจสอบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด (3) การดำเนินการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบภายในประจำปีได้ครบถ้วน และเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด (4) การสรุปผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ แจ้งหน่วยรับตรวจทราบเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องเป็นไปตามระบบที่กำหนดโปร่งใส ตรวจสอบได้และ (5) การสรุปผลการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบภายในประจำปีรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภายในระยะเวลาที่กำหนด

Q&A สวัสดีค่ะ ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่นี่ค่ะ