การบริหารด้านวิชาการ

ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านวิชาการ ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และพร้อมใช้ ในการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

สารสนเทศเพื่อการบริหารงานด้านวิชาการ

การบริหารงานด้านวิชาการ หมายถึง กระบวนการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีการพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง จัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการผลิต พัฒนาสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การวัดผล ประเมินผลนำผลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำวิจัย ส่งเสริมการวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนางานวิชาการ พัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการประสาน ส่งเสริมให้บุคคล ครอบครัว เอกชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นเครือข่ายและแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

รายงานผลการบริหารงาน
ด้านวิชาการ
DOWNLOAD

1. การพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับเป้าหมาย จุดเน้น สาระท้องถิ่น และสอดคล้องแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ การพัฒนากรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นครบถ้วนอย่างต่อเนื่องมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย จุดเน้น สาระท้องถิ่น และสอดคล้องแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 นำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

  • กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น
  • กรอบเนื้อหาวิชา เขตทางทะเล ระดับชั้น ป.1-3
  • กรอบเนื้อหาวิชา เขตทางทะเล ระดับชั้น ป.4-6
  • กรอบเนื้อหาวิชา เขตทางทะเล ระดับชั้น ม.1-3
  • ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นภายนอกโรงเรียน
  • ทะเบียนหลักสูตรท้องถิ่น

2. การส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น และความต้องการของสถานศึกษา

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น ความต้องการของสถานศึกษาและทันกับการเปลี่ยนแปลง (2) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินเอกสารหลักสูตรสถานศึกษาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา (3) การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา (4) การนำผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาวิจัยไปส่งเสริมพัฒนาหลักสูตร และ (5) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

3. การส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริม สนับสนุนบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (2) การส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาให้มีการนิเทศภายในที่เป็นระบบและต่อเนื่อง และ (3) การส่งเสริม สนับสนุนครูให้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงเชื่อมโยงบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมใกล้ตัวปัญหาของชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง มีทักษะการคิด

4. การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีการผลิต จัดหา และพัฒนาสื่อ เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษามีการผลิต จัดหา และพัฒนาสื่อเครื่องมือ อุปกรณ์ที่หลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้และความแตกต่างของผู้เรียน (2) การจัดให้มีเครือข่ายบริการเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้กับครูและสถานศึกษา (3) การสนับสนุนให้มีการพัฒนาครู เพื่อให้ครูสามารถผลิตและใช้สื่ออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการศึกษา และ (4) การสนับสนุนครูให้มีการวิจัย พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

5. การส่งเสริม สนับสนุน การวัดผล ประเมินผล และนำผลไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษา ของ สพท.

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริมและจัดทำข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และนำผลมาใช้ในการวางแผน พัฒนา และแก้ไขปัญหาการเรียนเพื่อส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง (2) การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิค วิธีการวัดและประเมินผล โดยเน้นตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่อง (3) การส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำหรือจัดหาและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ (4) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ให้ครูดำเนินการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอน โดยเน้นการประเมินตามสภาพจริงอย่างต่อเนื่อง

6. การพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (2) การจัดทำแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (3) การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (4) การติดตาม ทบทวน ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาใช้ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (5) การจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และ (6) การนำผลการสรุปรายงานไปวางแผนพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาและจัดทำเอกสารเผยแพร่

7.  การจัดทำวิจัย ส่งเสริม การวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนางานวิชาการ

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริมให้บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการวิจัยในการปฏิบัติงาน และการนำผลการวิจัยมาใช้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (2) การส่งเสริมให้สถานศึกษามีการวิจัยในการปฏิบัติงาน และนำผลการวิจัยมาใช้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (3) การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลการวิจัย และ (4) การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเผยแพร่ผลการวิจัย

8. การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เน้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง (2) การส่งเสริมให้สถานศึกษามีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง (3) การประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และ (4) การสรุปรายงานผลการดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

9. การประสาน ส่งเสริมให้บุคคล ครอบครัว เอกชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา รวมทั้งเป็นเครือข่าย และแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

มีสารสนเทศรองรับการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเครือข่ายวิชาการอย่างต่อเนื่อง (2) การประสานงาน และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการระหว่างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง (3) การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเครือข่ายวิชาการอย่างต่อเนื่อง (4) การสรุปรายงานการใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเครือข่ายวิชาการและนำผลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาเครือข่ายและแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Q&A สวัสดีค่ะ ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่นี่ค่ะ